วิธีการปฏิบัติในเทศกาลเชงเม๊ง |
 |
 |
 |
คนจีนยกย่องความกตัญญูกตเวทีบิดามารดาและเอาใจใส่ในพิธีการเคารพอย่างเคร่งครัดซึ่งเห็นอย่างชัดเจนในขนบธรรมเนียมการบวงสรวงบรรพบุรุษ
ครั้นโบราณกาลได้กำหนดวันขึ้นสำหรับทำพิธีเคารพศพอย่างกว้างขวางและเพื่อเกียรติยศเหล่าบรรพชน
แม้จะมีความแตกต่างในแต่ละครอบครัว พิธีนี้มักทำกันใน 2-3 วันแรกตามลำดับก่อนหลังหรือเอาอย่าง
เช็งเม้ง ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ประเพณีหนึ่งในต้นเดือนเมษายน เดือนซึ่งน้ำแข็งเริ่มละลายและความมีชีวิตชีวาได้กลับมาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ
ในปี1935รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กำหนดวันเช็งเม้งขึ้นซึ่งเสมือนเป็นการให้ความสำคัญในการทำพิธีเคารพศพนี้
โดยทั่วไปเทศกาลเช็งเม้งมีการพบปะกันด้วยการทำความสะอาดและไหว้บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
รวมถึงการไหว้ด้วยอาหารและสิ่งของต่อบรรพบุรุษด้วย อาหารที่นำมาไหว้ส่วนมากเป็นหมูย่างจริงๆส่วนสิ่งของนิยมทำจากระดาษ(กระดาษเงินกระดาษทอง)
    
ที่สามารถทำเป็นรูปแบบต่างๆได้ เช่น เสื้อเชิ้ต เนคไทค์ นาฬิกาข้อมือและเรือด่วน
สิ่งต่างๆเหล่านี้จะถูกเผาเพื่อนำไปสู่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บ่อยครั้งที่เงินของ
ธนาคารนรก จะถูกเผาไปพร้อมกันด้วย เงินเหล่านี้จะไปหลอกล่อวิญญาณร้ายทั้งหลาย
ไม่ให้สนใจสินค้าและไปซื้อได้ด้วยตนเองขณะที่เหล่าวิญญาณร้ายกำลังเพลิดเพลินกับเงินนรกสิ่งของที่มีค่าจะผ่านไปถึงบรรพบุรุษอย่างปลอดภัย
    
นี่เป็นเรื่องของครอบครัวมีการคาดหวังว่าสมาชิกทั้งหมดจะเดินไปยังที่ตั้งสุสานเป็นเรื่องปกติที่หลายครอบครัวไม่มีที่ตั้งสุสาน
กรณีนี้อาจมี ห้องประชุมแห่งความทรงจำ ซึ่งใกล้เคียงกับสุสานที่พบในที่เผาศพ
แผ่นโลหะซึ่งมักมีรูปของบุคคลนั้นถูกวางอยู่บนกำแพงสุสาน การเคารพบรรพบุรุษจะเกิดขึ้นที่นี่รวมทั้งอาหารและสิ่งของจะถูกเผาที่นี่ด้วย
เช็งเม้งมักเกิดขึ้นที่นอกเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ไม่มีสิ่งใดผิดปกติในเรื่องนี้
ในอดีตผู้ที่ล่วงลับแล้วจะถูกฝังนอกกำแพงเมือง ดังนั้นการไหว้บรรพบุรุษจึงต้องเดินทางออกนอกเมือง
สมาชิกทั้งหมดจะพยายามมารวมตัวกันและไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่เทศกาลนี้สมาชิกจะได้มีโอกาสประกอบภารกิจร่วมกันและจากเหตุผลนี้จำนวนประเพณีอื่นๆจึงเกิดตามมาด้วย
เทศกาลเช็งเม้งเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน
3 ของจีน โดยกำหนดให้ไหว้ภายใน 15 วันแรกของเดือนวันไหนก็ได้ ซึ่งที่เมืองไทยนิยมไปไหว้ในวันที่5
เมษายน เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงด้วยของคาวของหวาน ผลไม้
ขนมอี๊ 5ที่ 5ถ้วย เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5
เวลาจุดธูปไหว้ก็ต้องไหว้ธูป 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตูหรือที่เรียกกันว่า
มึ่งซิ้ง ก็ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก2ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก จากนั้นจึงเข้าไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุมมี
2 ชุด
ชุดหนึ่งไหว้บรรพบุรุษอีกชุดหนึ่งไหว้โท้วตี่ซิ้ง คือ เทพยาดาผืนดิน
ของไหว้บรระบุรุษมีของคาว ของหวาน ผลไม้ โดยนิยมกันว่าต้องมีขนมไหว้เป็น
จูชังเปี้ย หรือ ขนมเปี๊ยะกรอบ และมีกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ แถมด้วยอาหารน้ำ
1 อย่าง จะเป็นน้ำแกง หรือขนมอี๊ก็ได้
การไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย มีธรรมเนียมการเอาสายรุ้งไปแต่งโปรยไว้บนเนินดินเหนือหลุม
ถ้าไหว้เป็นปีแรก จะใช้สายรุ้งสีแดงโดยเฉพาะปีต่อๆ มาจึงเล่นหลายสีได้
แต่มีบางบ้านลูกหลานเอาธงหลายสีไปปักไว้เต็มไปหมด ฟังมาว่าเรื่องการปักธงนี้
หลายบ้านจะถือมากว่าห้ามปักเด็ดขาด เพราะถือว่าการมีของแหลมทิ่มแทงเข้าใส่บนหลุม
อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษในอิมกัง (โลกของคนตาย)รั่วได้ ในการไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดินก่อนด้วยธูป
5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่ จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยธูป
3 ดอก และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ) รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว
จึงเผากระดาษเงืนกระดาษทอง จากนั้นก็จุดประทัดส่งท้าย เพื่อให้เสียงอันดังช่วยในการขับไล่สิ่งไม่ดีไม่ให้เข้าใกล้กวนบรรพบุรุษของเราแล้วเลยมีการถือกันว่าเพิ่มด้วยว่าประทัดนี้ยิ่งดังยิ่งดีจะทำให้ลูกหลานยิ่งรวย
    
การนำอาหารมาวางต่อหน้าหินฝั่งศพ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ
ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว อาหารส่วนใหญ่ เช่น
1. ไก่นึ่งทั้งตัว
2. ไข่ต้มที่จะทำการเซ่น ต้องอยู่ในเปลือกและทำการผ่าครึ่งโดยทั้งสองชิ้นนั้นจะต้องเท่าๆ
กัน
3. หมูย่างที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆ
4. หมูอบที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆแต่ยังมีหนังติดอยู่และกรอบ
5. ขนมจีบชนิดต่าง ๆ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้จัดวางอยู่เหนืออาหารและอยู่ใกล้กับหินฝั่งศพ
1. ตะเกียบหนึ่งชุด
2. แก้วไวท์แบบจีน 3 แก้ว
ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นจะทำการรินไวท์ใส่ถ้วยที่ได้ทำการเตรียมไว้นั้นสามครั้งโดยทุกครั้งนั้นเขาจะต้องคำนับต่อหลุมฝั่งศพ
สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวนั้นจะทำการเคารพสามครั้งต่อหน้าหลุมฝั่งศพ
โดยที่มือซ้ายนั้นจะต้องทำการถือถ้วยไวท์ บางครอบครัวนั้นจะทำการรับประทานอาหารร่วมกัน
ในหน้าหลุมฝั่งศพนั้น การที่กินอาหารที่ได้ทำการถวายต่อบรรพบุรุษนั้นจะนำมาสู่ความโชคดี
พวงมาลัย
แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงในปัจจุบัน การเดินทางไปยังชนบทจะมีการนำดอกช่อดอกวิลโลมาถักเป็นพวงมาลัยให้ผู้หญิงสาวสวมไว้ที่ศีรษะ
เป็นความเชื่อว่าจะทำให้หญิงที่ใส่ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา มีการกล่าวว่า
ผู้หญิงที่ไม่สวมพวงมาลัยดอกวิลโลในวันเช็งเม้งจะแก่ลงในไม่ช้า
ว่าว |
 |
ประเพณีอีกอย่างในเทศกาลเช็งเม้งคือการเล่นว่าว เดิมทีคาดว่ามาจากช่วงฤดูใบไม้ร่วง
เริ่มมีอยู่ว่ากองซูบานสร้างนกไม้ขึ้นเพื่อบินเหมือนว่าวเหนือเมืองหลวงในราชวงศ์ซ้องเพื่อที่จะสำรวจเมือง
ว่าวเคยนำคนลอยขึ้นจากพื้นดินโดยราชวงศ์จีนตะวันตำ กระดาษนำมาใช้แทนไม้
ในราชวงศ์ที่ห้า มีสิ่งใหม่นำมาใช้ทำว่าวนั่นคือกระบอกไม้ไผ่โดยฝีมือของลียี่เมื่อลมพัดผ่านในกระบอกมันจะเกิดเสียงคล้ายกับเครื่องดนตรีชาวจีนเรียกว่า
เซียงจากตอนนั้นชาวจีนจึงเรียกว่าวว่า เฟงเซียง เครื่องดนตรีลม
เช็งเม้งเป็นเทศกาลว่าวบินและในหลายๆ สถานที่มีการจัดเทศกาลแข่งขันว่าวขึ้นทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทกลุ่มมาขับเดี่ยวกันเพื่อสร้างว่าวจินตนาการ
|